วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วยภาค ก ชุดที่ 4

1. ข้อใดไม่ใช่หลักการสำคัญของการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
. การมีส่วนร่วม
. การกระจายอำนาจ
. การกำกับติดตามประเมินผล
. การยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

2. เห็นความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรคตลอดจนให้ความร่วมมือช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุนให้การจัดการศึกษามีคุณภาพ
. การวางแผน
. การดำเนินการตามแผน
. การนิเทศ
. การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

3. กระบวนการที่แตกต่างจากข้ออื่น
. การวางแผน
. การกำกับติดตาม
. การนิเทศ
. การประเมินผล

4. เพื่อให้การจัดการศึกษาของสถานศึกษามีคุณภาพมาตรฐาน ท่านคิดว่าควรจะมีการประเมินผลการจัดการศึกษาระดับใดบ้าง
. ระดับสถานศึกษา
. ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
. ระดับชาติ
. ถูกทุกข้อ

5. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่แนวทางการจัดหลักสูตรสถานศึกษา
. การจัดทำสาระของหลักสูตร
. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
. แนวทางการจัดและประเมินผล
. การกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์

6. กิจกรรมต่อไปนี้ไม่ใช่การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
. การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีและรายภาค
. การกำหนดสาระการเรียนรู้รายปีและรายภาค
. การกำหนดเวลาจำนวนหน่วยกิต สำหรับสาระการเรียนรู้
. ผลงานวิชาการเกี่ยวกับการวิจัยในชั้น

7. เป็นขั้นตอนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
. วิเคราะห์ วางแผน เก็บข้อมูล สรุปผลรายงาน
. วางแผน เก็บข้อมูล วิเคราะห์ สรุปผลนำไปใช้
. วิเคราะห์ วางแผน ดำเนินการ เก็บข้อมูลสรุปผล
. เก็บข้อมูล วางแผน วิเคราะห์ สรุป รายงานผล

8. การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเน้นการวิจัยในลักษณะใด
. การวิจัยในชั้น
. การวิจัยเพื่อพัฒนา
. การวิจัยเพื่อใช้เป็นผลงานวิชาการ
. การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ
เรียนรู้

9. ข้อใดคือขั้นตอนสุดท้ายของการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
. การจัดทำสาระของหลักสูตร
. การจัดหน่วยการเรียนรู้
. การจัดทำแผนจัดการเรียนรู้
. การกำหนดอัตราเวลาเรียน

10. กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายภาคและกำหนดจำนวนหน่วยกิตให้เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานและสาระการเรียนรู้
. ช่วงชั้นที่ 1
. ช่วงชั้นที่ 2
. ช่วงชั้นที่ 3
. ช่วงชั้นที่ 4

11.ข้อใด คือเกณฑ์พิจารณาที่ใช้เวลาจัดการเรียนรู้
. 20 ชั่วโมงต่อภาคเรียนมีค่าเท่ากับ1 หน่วยกิต
. 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียนมีค่าเท่ากับ1 หน่วยกิต
. 20 ชั่วโมงต่อปีมีค่าเท่ากับ1 หน่วยกิต
. 40ชั่วโมงต่อปีมีค่าเท่ากับ1 หน่วยกิต

12. ไม่มีในคำอธิบายรายวิชาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
. ชื่อรายวิชา
. จำนวนเวลา หน่วยกิต
. สื่อการเรียนรู้
. มาตรฐานการเรียนรู้

13. ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนโดยปฏิบัติโครงงานอย่างน้อยกี่โครงงาน
. 1 โครงงาน
. 2 โครงงาน
. 3 โครงงาน
. เป็นดุลยพินิจโรงเรียน

14. การจัดทำแผนการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้มีแผนการเรียนรู้ของใครบ้าง
. แผนการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน
. แผนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน
. แผนการจัดการเรียนรู้ร่วม
. เฉพาะ ก และ ข

15. สถานศึกษาต้องคำนึงถึงเรื่องใดในการจัดนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
. วัย
. วุฒิภาวะ
. ความแตกต่างบุคคล
. ถูกทุกข้อ

16. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
. กิจกรรมตามความสนใจ ความถนัด
. กิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมทางการเมือง
. กิจกรรมประเภทบริการ

17. สถานศึกษาร่วมกับชุมชนกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนด้านใดบ้าง
. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ประเพณีไทย
. ด้านคุณธรม จริยธรรม วัฒนธรรมไทย
. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรมไทย

18. การประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นการประเมินในลักษณะใด
. การประเมินเพื่อตัดสินผล
. การประเมินเพื่อสร้างเสริม
. การประเมินเพื่อปรับปรุงพัฒนา
. การประเมินรอบด้าน

19. การจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี สถานศึกษาต้องจัดการศึกษาโดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในด้านใด
. การอ่าน การคิด การใช้คอมพิวเตอร์
. การเขียน การคิดวิเคราะห์ การใช้ อังกฤษ
. การอ่าน การเขียน การคิด การใช้คอมพิวเตอร์
. การอ่าน การเขียน การคิด และการใช้ภาษาอังกฤษ

20. การฝึกให้เขียนหนังสือเป็นเล่มเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในช่วงชั้นใด
. ช่วงชั้นที่1
. ช่วงชั้นที่ 2
. ช่วงชั้นที่ 3
. ช่วงชั้นที่ 4

21. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามข้อใดที่สัมพันธ์กันที่สุด
. ช่วงชั้นที่1 / เน้นการคิดวิเคราะห์
. ช่วงชั้นที่ 2 / เน้นตามความสนใจผู้เรียน
. ช่วงชั้นที่ 3 / เน้นความเป็นอิสระ
. ช่วงชั้นที่ 4 / เน้นความพร้อมในการศึกษาต่อ

22. เป็นกระบวนการแรกของการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
. การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง
. การกำหนดวิสัยทัศน์
. การจัดหลักสูตรสถานศึกษา
. การกำหนดสาระการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้

23. ใครเป็นผู้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
. ผู้บริหารสถานศึกษา
. ผู้ปกครอง ชุมชน
. คณะกรรมการสถานศึกษา
. ทุกฝ่ายร่วมกัน

24. ใครเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
. ผู้บริหารโรงเรียน
. ครูผู้สอน
. สถานศึกษา
. กรมวิชาการ

25. ข้อใดคือความหมายของหลักสูตรสถานศึกษาที่ถูกต้อง
. หลักสูตรของตนเอง
. หลักสูตรท้องถิ่น
. การเรียนรู้และประสบการณ์
. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

26. ผลลัพธ์ที่อันเป็นจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา
. พัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินในการเรียนรู้
. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนด้านจิตวิญญาณจริยธรรม สังคมและวัฒนธรรม
. สร้างผู้เรียนให้พร้อมเป็นผู้บริโภคตัดสินใจแบบมีข้อมูลและเป็นอิสระ
. ถูกทุกข้อ

27. ข้อใดเป็นการพัฒนาศักยภาพครูให้มีความเป็นผู้นำในด้านวิชาการ
. พัฒนาเป็นครูแกนนำ ครูต้นแบบ
. จัดประชุมอบรมสัมมนา
. กำหนดครูพี่เลี้ยง ครูพัฒนาหลักสูตร
. ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

28. การเทียบโอนผลการเรียนรู้สถานศึกษาต้องดำเนินการตามข้อใด
. เทียบโอนได้สำหรับการศึกษาทุกรูปแบบ
. พิจารณาจากความรู้ ทักษะและประสบการณ์
. เทียบโอนโดยยึดกฎกระทรวง
. เทียบโอนตามกฎกระทรวงและระเบียบที่กำหนด

29. ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์การจบการศึกษาภาคบังคับ
. ได้เรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มและได้หน่วยกิตครบ ได้รับการตัดสินผลการเรียน
. ผ่านการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน
. ผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
. เข้าร่วมและผ่านการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

30. ใครเป็นผู้กำหนดเกณฑ์การจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
. กระทรวงศึกษาธิการ
. กรมวิชาการ
. สถานศึกษา
. คณะกรรมการสถานศึกษา

31. การจัดการเรียนรู้ในช่วงชั้นใดที่เริ่มเน้นเข้าสู่เฉพาะทางมากขึ้น มุ่งเน้นความสามารถความคิดระดับสูง ความถนัด ความต้องการของผู้เรียนทั้งในด้านอาชีพ การศึกษาเฉพาะทาง ตลอดจนการศึกษาต่อ
. ช่วงชั้นที่ 1
. ช่วงชั้นที่ 2
. ช่วงชั้นที่ 3
. ช่วงชั้นที่ 4

32. ข้อใดไม่ใช่การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
. การวัดและประเมินผลผู้เรียน
. การวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน
. การวัดและประเมินผลระดับสถานศึกษา
. การประเมินผลคุณภาพระดับชาติ

33. จบการศึกษาขั้นพื้นฐานหมายถึงจบการศึกษาชั้นใด
. ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
. ข้อ ข และ ข้อ ค ถูก

34. ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์การจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
. ผู้เรียนต้องเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม และได้รับการตัดสินผลการเรียนให้ได้ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
. ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนได้ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
. ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
. ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและด้านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานตามสถานศึกษากำหนด

35. ผู้เรียนจบการศึกษาภาคบังคับหมายถึงจบชั้นใด
. ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
. ชั้นประถมศึกษาปีที่ 9
. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

36. กระบวนการที่ครูผู้สอน ได้ใช้ข้อมูลสารสนเทศแสดงพัฒนาการความก้าวหน้า ความสำเร็จและนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
. การวางแผนการเรียนรู้
. การจัดการเรียนรู้
. การวัดผลการเรียนรู้
. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

37. ผู้เรียนระดับชั้นใดที่ไม่ต้องได้รับการประเมินคุณภาพระดับชาติ
. ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
. ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
. ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

38. ข้อใดคือลักษณะของสื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
. เรียนรู้ด้วยตนเองต่อเนื่องตลอดชีวิต
. ครอบคลุม เพียงพอ
. มีคุณค่า น่าสนใจ เข้าใจง่าย
. ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันจัดทำ

39. การจัดการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับช่วงชั้นใด
ที่มีหลักการ ทฤษฎีที่ยาก ซับซ้อน อาจจัดแยกเฉพาะ
. ช่วงชั้นที่ 1
. ช่วงชั้นที่ 2
. ช่วงชั้นที่ 3
. ช่วงชั้นที่ 4

40. ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่างๆกับหัวข้อเรื่องที่สอดคล้องกับชีวิตจริง หรือสาระที่กำหนดขึ้นมา เป็นการจัดการการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานตามลักษณะใด
. แบบโครงงาน
. แบบรายวิชา
. แบบบูรณาการ
. แบบเชื่อมโยง

41. ผู้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
. อธิบดีกรมวิชาการ
. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
. นายกรัฐมนตรี

42. โรงเรียนโดยทั่วไปเริ่มใช้หลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน ในปีการศึกษาใด
. 2545 
. 2546
. 2547 
. 2548

43. เรื่องใดไม่ได้กล่าวไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
. หลักการจุดมุ่งหมาย
. โครงสร้างการจัดหลักสูตร
. สาระ มาตรฐานการเรียนรู้
. การพัฒนาศักยภาพนักเรียนและผู้ปกครอง

44. เหตุผลจำเป็นที่สุดที่ต้องปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาของชาติ
. ต้องการให้เด็กไทยดี มีปัญญา มีความสุข
. หลักสูตรเก่าหล้าหลัง ล้มเหลว
. ความก้าวหน้าทางวิทย์ เทคโนฯ ตลอดทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจของประเทศ
. รัฐธรรมนูญกำหนดให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

45. กฎหมายใดกำหนดให้มีการจัดทำหลักสูตรขั้นพื้นฐาน
. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
. พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
. แผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม
. ทุกข้อล้วนมีส่วนกำหนด

46. ไม่ใช่หลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
. การศึกษาเพื่อเอกภาพนโยบายหลากหลาย
ปฏิบัติ
. การศึกษาเพื่อปวงชน
. การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
. เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ

47.ในหลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมีโครงสร้างที่ยึดหยุ่นได้ ยกเว้นข้อใด
. ด้านผู้เรียน
. ด้านสาระ
. ด้านเวลา
. ด้านการจัดการเรียนรู้

48. มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษา
ต่อและการประกอบอาชีพ
. หลักการของหลักสูตร
. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
. สาระการเรียนรู้
. โครงสร้างหลักสูตร

49.หลักการและจุดหมายการศึกษาขั้นพื้นฐานมีกี่ข้อ
. หลักการ 4 ข้อ จุดมุ่งหมาย 5 ข้อ
. หลักการ 5ข้อ จุดมุ่งหมาย 6 ข้อ
. หลักการ 4 ข้อ จุดมุ่งหมาย 8ข้อ
. หลักการ 5 ข้อ จุดมุ่งหมาย 9 ข้อ

50. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเกี่ยวกับช่วงชั้นไว้ตามข้อใด
. 3 ช่วงชั้น ช่วงชั้นละ 3 ชั้น
. 3 ช่วงชั้น ช่วงชั้นละ 4 ชั้น
. 4 ช่วงชั้น ช่วงชั้นละ 3 ชั้น

. 4 ช่วงชั้น ช่วงชั้นละ 4 ชั้น

ที่มา
คุณครู.(2559). คลังข้อสอบครูผู้ช่วย (ออนไลน์).แหล่งที่มา: http://khunkru12.blogspot.com/2016/06/blog-               post.html. (7 กันยายน 2560).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น